หลังจากทำการติดตั้ง ESXi Server ทั้งแบบ Server และ Home LAB เรียบร้อย ต่อไปก็ต้องถึงคิว vCenter Server ซื่งเป็นศูนย์กลางการจัดการของระบบ ESXi Server (Virtual Machine) ทั้งหมด ก่อนจะไปเรื่องการติดตั้งมาดูภาพรวมและ Features กันก่อนซักนิด โดย vCenter Server นั้นมี 2 Edition
- vCenter server appliance
- vCenter for Windows
Simple Deployment
- vCenter server appliance ง่ายและรวดเร็วในการติดตั้งเป็น Linux Virtual Appliance
- Host profiles เป็นการกำหนดมาตราฐานในการกำหนดค่าให้กับ ESXi Server เพื่อให้ทุกๆ ESXi Server มีการ Configuration ให้เหมือนกันทุก ESXi Server โดยการทำต้นแบบแล้วทำการ Deploy ไปที่ ESXi Server ตัวอื่นๆ
Centralized Control and Visibility
- vSphere web client เป็นการใช้งาน vCenter Server ด้วย WEB Brower ของให้มี Brower ก็สามารถจัดการ ESXi Server ได้ครับ
- vCenter single sign-on เป็น Single Sign-on ของ VMware
- Custom roles and permissions เป็นการจัดการ User Roles และ Permissions ในการเข้าไปใช้งาน vCenter สามารถกำหนดสิทธิการใช้งานเป็น Group หรือตาม User ก็ได้ครับทำให้ง่ายในการแบ่งหน้าที่ทำงานได้ดีมากครับ เช่น ให้ User มีสิทธิแค่ทำการ ปิดเปิด Virtual Machine อย่างเดียวก็ได้
- Inventory search สามารถค้นหา Resource ใน vCenter Server ได้ทั้งหมด Virtual Machine , DataStore , ESXi Server, Network ทุกๆอย่างที่อยู่ใน vCenter Server
Proactive Optimization
- Resource management เป็นการจัดสรร Resource CPU, Memory, Disk Store รวมทั้งการจัดการ Network I/O, Store I/O
- Dynamic allocation of resources เป็นการจัดการโดยการใช้ Feature Distributed Resource Scheduler (DRS) ซึ่งสามารถทำการ Load balancing Resource ภายใน Cluster แบบ Dynamic
- Energy-efficient resource optimization เป็นการจัดการโดยการใช้ Feature Distributed Power Management (DPM) จะทำการ Monitor การใช้งาน Resource ของ ESXi Server เมื่อมีการใช้งานน้อยก็จะทำการย้าย Virtual Machine ไปที่ ESXi Server ตัวอื่นๆแล้วทำการ Down ESXi Server ที่ไม่ได้ใช้งานเพื่อทำการประหยัดไฟฟ้า แต่เมื่อมีการใช้งาน Resource มากขึ้นก็ทำการ Start ESXi Server แล้วทำการย้ายไปใช้ ESXi Server ตัวที่ทำการ Strat ขึ้นมา แต่จะทำภายใน Cluster เดียวกัน
- Automatic restarts เป็น Feature High Availability (HA) เมื่อ ESXi Server ที่ Virtual Machine นั้น Run อยู่เมื่อมีปัญหากับ ESXi Server นั้น จะทำการย้าย Virtual Machine ไป Restart ที่ ESXi Server ตัวอี่นภายใน Cluster เดียวกัน
Management
- VMware vCenter Orchestrator เป็น Add-on ในการจัดการในแบบ Automate ในแบบ Workflow โดยมี Task ให้มามากกว่า 800 รูปแบบมาให้
- VMware vCenter Multi-Hypervisor Manager เป็น Feature ในการจัดการ Hyper-V
Scalable and Extensible Platform
- Improved large-scale management สามารถจัดการ ESXi Server ได้ถึง 1,000 Server และจัดการ Virtual Server ถึง 10,000 VM
- Linked mode เป็นการ Replicate Role , Permission , License ไปที่ vCenter Server อื่นๆ
- Systems management product integration เป็น API ให้ Vender อื่นๆเข้ามา integration กับ ESXi Server
Distributed Resource Scheduler (DRS) การทำงาน DRS จะคอยตรวจสอบการใช้งานของ Resource และทำการ Load Balance Virtual Machine เพื่อทำให้ Performace ถูกใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
Feature Distributed Power Management (DPM) การทำงานของ DPM จะคอยตรวจการใช้งานของ Virtual Machine เมื่อมีการใช้งานน้อยลงในระดับหนึ่งก็จะทำการย้าย Virtual Machine ไปที่ ESXi Server ตัวอื่นๆภายใน Cluster แลัวทำการ Standby ESXi Server เพื่อประหยัดไฟฟ้า (ช่วยลดโลกร้อน)
Feature High Availability (HA) การทำงานของ HA เมื่อ ESXi Server เกิดปัญหาหรือ Down ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุใดก็ตาม Virtual Machine ที่อยู่ภายใน ESXi Server ที่เกิดปัญหาก็จะถูกย้ายไป Restart ที่ ESXi Server ตัวที่ใช้งานได้จะมี DownTime ช่วงเวลาที่ทำการ Restart
Feature High Availability (HA) ภาพนีเป็นการทำงานของ HA
Feature ทั้งสามที่ได้อธิบายมานี้จะต้องอาศัย Feature vMotion ในการทำงานเพราะฉะนั้นจะต้อง Configuration vMotion ให้สามารถใช้งานได้ก่อนนะครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น