ทำการต่อสาย Serial Console port แล้วทำการเข้า Putty เลือก Serial Speed ต้องใช้ 38400 ดังรูปแล้วทำการ Open
ทำการ login ด้วย user admin password ไม่มีเมื่อ Login เรียบร้อยให้พิมพ์เครื่องหมาย ? แล้ว Enter ก็จะโชว์ Command
ใช้คำสั่ง ipsetup ip-address subnet ตามรูปทำการ enter ก็เป็นการ Configure IP Address เรียบร้อย
ทำการเปิด WEB Brower แล้วใส่ http://IP-Address ที่ได้ทำการ Configure ก็จะขึ้นดังรูปทำการ Login User : admin ไม่มี password ตามด้วย verify code
เมื่อทำการ Login เรียบร้อย ก็จะเข้ามาที่ Web Management เลือก Summary ก็จะมี System Information จะแสดงเป็นการใช้งาน Usage ของ CPU, Memory ส่วนด้านขวาจะแสดงข้อมูลของ Switch
เมื่อเลือกแทบ Device Information จะแสดงรูป Switch และ Status Port เมื่อเอา Mouse ไปที่ Port จะแสดงรายละเอียดของ Port ดีมากครับ Speed Port และค่าต่างๆครบผมว่าดีมากๆครับ
Device จะเริ่มด้วยการกำหนดชื่อของ Switch โดยรวมในส่วนนี้จะเป็นการ Configure เกี่ยวกับตัว Switch เช่น การจัดการ Port, การจัดการ Log, System Log การ Backup & Restore Configure การ Upgrade Firmware รวมถึงการ Monitor Switch SNMP, RMON, Interface Statistics มาดูแต่ละหัวข้อที่หน้าสนใจกันครับ - Device Maintenance จะทำเกี่ยวกับการ Software Upgrade
- System Time การกำหนด Time Sync สามารถกำหนดให้ใช้กับ NTP Server (Network Time Protocol)
- Syslog เป็นการดู Log แบบ Real Time และสามารถ Configure ให้ส่ง Log ไปที่ Log Server ได้ด้วย
- Configuration จะในการ Backup & Restore Configuration ของ Switch
- File Management จะใช้จัดการกับ File ของ Switch เช่น Log file, Config File, Startup File, File System ของ Switch
- Port Management ใช้ในการ Configure Port ตามรูปครับทำให้ Configure Port ได้ง่ายมาก
- Port Mirroring จะใช้ในการ Monitor Port ที่เราต้องการดูแล้วทำการ Capture จาก Port ไหนก็สามารถกำหนดได้
- Energy Saving เป็นการกำหนดการใช้งานของแต่ละ Port ตามช่วงเวลาการใช้งานของแต่ละ Port ให้ Power Saving ตามช่วงเวลาได้ (ลดโลกร้อน)
- RMON และ SNMP จะเป็นส่วนของการ Monitor Switch สามารถกำหนดให้ส่งข้อมูลการใช้งานไปที่ SNMP Server เพื่อใช้ในการดู Traffic และ Performance ของ Switch
- Interface Statistics จะใช้ดูการใช้งาน ของแต่ละ Port ดังรูป
Network จะเป็นส่วนของการจัดการ Network Configure การจัดการ VLAN , การจัดการ Link Aggregation, การจัดการ Routing, การจัดการ DHCP และมีระบบป้องกัน Denial of Service Protection
- VLAN จะใช้ในการจัดการ VLAN ในการสร้างการลบการเพิ่ม Port และการแก้ไข VLAN
- VLAN Interface จะใช้ในการสร้างแก้ไขและลบ VLAN Interface ใช้ในการกำหนด IP Address ให้กับ VLAN นั้นเอง
- Link Aggregation ใช้ในการจัดการสร้างแก้ไขและลบ Link Aggregation และสามารถใช้งานร่วมกับ LACP (Link Aggregation Control Protocal)
- IPv4 Routing & IPv6 Routing ใช้ในการจัดการสร้างและลบ Routing ของ IPv4 และ IPv6 (Static Routing)
- DHCP เป็นการจัดการ DHCP IP Address และรองรับหลาย Subnets
- Authentication เป็นการจัดการเกี่ยวกับ Network Authenticate การเข้ามาใช้งานระบบ Network ทำให้มีระบบความปลอดภัยในการเข้ามาใช้ระบบ Network ภายในองกรค์เพิ่มขึ้นเพราะว่าเมื่อเสียบสาย LAN แล้วก็ยังไม่สามารถใช้งานได้ต้อง Authenticate โดยการ Authenticate ก็มีให้เลือกหลายรูปแบบดังรูปที่เห็นครับ แบบ 802.1X จะมี Authentication Method ให้เลือก CHAP PAP EAP
- Authenticate ด้วย RADIUS สามารถกำหนด RADUIS Server ได้
- Security การจัดการในการเข้าถึง Switch เพื่อเข้าการจัด Switch โดยสามารถกำหนดเป็น Group Port หรือ IP Address แล้วสามารถกำหนด ACL (Access Control List) ได้อีกชั้นด้วย Security สุดๆกันเลยทีเดียว
จากที่ได้เห็น Features ของ Switch v1910-16G จะเห็นว่ามีครบทั้งในเรื่องการ Management , Security, Performance โดย Model ของ 1910 จะมีตั้งแต่ 8 Port ไปจนถึง 48 Port ที่รีวิวนี้จะเป็นรุ่น 16 Port + SFP 4 ในราคา 9000 บาท นั้นคุ้มค่ามากกับ Feature ที่มีมาให้ส่วนเรื่องรับประกันจะรับประกันแบบ Lifetime Warranty next-business-day จะเห็นว่าการ Configure ต่างๆนั้นจะเป็น GUI ทำให้ง่ายและรวดเร็วในการ Configure ของ Network ซึ่งก็เพียงพอในการใช้งานครับแต่เจ้า Switch 1910 นี้สามารถ Enable Command ที่ทำให้การ Configure ได้มากกว่าที่เห็นในหน้า Web Management เดี๋ยวจะเขียนวิธีการ Enable Command ในบทดวามต่อไปครับ โดยร่วมของ Switch 1910 นี้ผมว่ารองรับการใช้งาน ได้ตั้งแต่ Office เล็ก กลาง ใหญ่ ได้เลยครับและยังรองรับ IMC Software ในการจัดการในระดับ Enterprise ได้ด้วยครับ แล้วเจอกันในบทความต่อไปครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น